ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 


            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่ายดังนี้ 

1.เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย (home network) ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย 
 

2.เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป  เช่น  การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน  การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network: CAN) 


  


3. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน  (Wide Area Network: WAN) แวน หรือ ข่ายงานบริเวณกว้าง (อังกฤษ: Wide area network หรือ WAN) คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้ ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย ผู้รับผิดชอบทางด้านเครือข่ายขององค์การต้องขอใช้บริการต่างๆ เช่น บริการเชื่อมต่อผ่านทางเฟรมรีเลย์ (Frame Relay) คู่สายวงจรเช่า (Leased Line) หรือ ISDN ผู้ให้บริการในประเทศไทยก็มีอยู่หลายที่เหมือนกันที่สามารถให้บริการได้เช่น บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), ดาต้าเน็ด, องค์การโทรศัพท์, บริษัทคอม, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เทคโนโลยีแวน แตกต่างจากแลนมาก แลนส่วนใหญ่จะมีมาตรฐานรองรับส่วนเทคโนโลยีแวน จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างมาจากหลายบริษัทบางส่วนก็มีมาตรฐาน บางส่วนก็เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัทนั้นๆ ก็แตกต่างกันไปทางด้านลักษณะ ด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และก็ราคาด้วย สิ่งที่คิดว่ายากที่สุดในการสร้างเครือข่ายแวน ก็คือการเลือกใช้เทคโนโลยีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ และสามารถตอบสนองความต้องการของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันได้ ข่ายงานวิทยุสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องรับที่ใช้ในการรับและส่งข้อความไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การกระจายเสียงข่าว และแฟ้มข้อมูล ถึงแม้ในขณะนี้ข่ายงานลักษณะนี้จะมีการทำงานได้ในวงจรจำกัด เพียงในเนื้อที่เมืองหลวงก็ตาม แต่ในอนาคตเมื่อมีการนำระบบการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมเข้ามาใช้ ก็จะทำให้ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สายนี้สามารถสื่อสารข้อมูลได้ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีแวน มีส่วนประกอบที่สำคัญดังนี้ 
1.ระบบส่งสัญญาณ (Transmission Facility)
2. อุปกรณ์เครือข่าย เช่น Switch, Router, CSU/DSU (Channel Dervice Unit/Data Service Unit)
3. ระบบจัดการที่อยู่ (Internet work Addressing) 
4.โพรโทคอลจัดเส้นทาง (Routing Protocol)



            ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล หมายถึง ทิศทางจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูล สามารถแบ่งทิศทางการสื่อสารของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ 

1. แบบทิศทางเดียว (Simplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางเดียว” (One-way Communication)เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางโดยไม่สามารถส่งข้อมูลย้อนกลับมาได้เช่น การกระจายเสียงจากสถานีวิทยุ การเผยแพร่ภาพและรายการต่างๆของสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น 
                                

2. แบบกึ่งสองทิศทาง ( Half Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบทางใดทางหนึ่ง (Either-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งกลับกันได้ 2 ทิศทาง แต่จะไม่สามารถส่งพร้อมกันได้ โดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด 

 

3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex)หรือเรียกว่า “การสื่อสารแบบสองทาง (Both-way Communication)” เป็นทิศทางการสื่อสารข้อมูลแบบที่ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทาง ในเวลาเดียวกัน เช่น ระบบโทรศัพท์ โดยที่คู่สนทนาสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ต้องกดสวิตซ์ เพื่อเปลี่ยนสถานะก่อนที่จะสื่อสาร 




















ความคิดเห็น